ข้อสอบอัตนัย 10 ข้อ
1.เราเตอร์ คืออะไร
ตอบ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นเน็ตเวิร์กตามรูปข้างล่างนี้ เราเตอร์ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ในระดับเดทาลิงค์ได้หลายรูปแบบ
2.เราเตอร์ ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ในการจัดหาเส้นทางเพื่อส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ
3.เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับอะไร
ตอบ คล้ายกับ สวิตช์ (Switch)
4.เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่เท่าไรตามมาตรฐานของ OSI Model
ตอบ เราเทอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model
5.เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นรูปแบบใด
ตอบ แบบแพ็กเก็ต
6.อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยง คือ อะไร
ตอบ เราเตอร์
7.การป้องกันการกระจายสัญญาณ คืออะไร
ตอบ อุปกรณ์เราเตอร์ป้องกันการกระจายสัญญาณ ( Broadcast ) ข้ามเซกเมนต์
8.อะไรเป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสองเครือข่ายที่แยกจากกัน
ตอบ บริดจ์
9.เราเตอร์มีความสามารถใช้โปรโตคอลได้หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์จัดการระบบเครือข่าย ( Network Operating System )
10.อุปกรณ์หลักในการเชื่อมโยงเครือข่าย คือ
ตอบ บริดจ์ เราเตอร์ และ สวิตซ์
ข้อสอบปรนัย 10 ข้อ
1.ข้อใดเป็นสัญญาณที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ?
ก. สัญญาณดิจิตอล
ข. สัญญาณไมโครเวฟ
ค. สัญญาณอะนาลอก
ง. สัญญาณดาวเทียม
เฉลย ก.
2.อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ HUB คือ ?
ก. อุปกรณ์เชื่อมต่อหลายเครือข่าย
ข. เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างกัน
ค. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ไม่มีการขยายสัญญาณ
ง. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีการขยายสัญญาณ
เฉลย ค.
3.สัญญาณทางอิเล็กทรกนิกส์มีกี่ชนิด ?
ก. 4 ชนิด
ข. 3 ชนิด
ค. 2 ชนิด
ง. 5 ชนิด
เฉลย ค.
4. เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นรูปแบบใด
ก. แบบแพ็กเก็ต
ข. สัญญาณไมโครเวฟ ค. สัญญาณอะนาลอก
ง.สัญญาณดิจิตอล
เฉลย ก.
5.ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่า อย่างไร
ก.ไอพีเราเตอร์ (IP router)
ข.พีซีเราเตอร์
ค.ดีอีเราเตอร์
ง.อีอีเราเตอร์
เฉลย ก
6.ไอพี เราเตอร์ ทำหน้าที่?
ก.เป็นจุดกำเนิดเครือข่าย
ข.ควบคุมระบบทั้งหมด
ค.ทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยสร้างแผนที่เครือข่ายและเก็บอยู่ในรูปตารางเส้นทาง
ง.ควบคุมการ์ดจอ
เฉลย ค.
7.เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นใด
ก.ระดับกลาง
ข.ระดับแรก
ค.ทุกระดับชั้น
ง.ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
เฉลย ง.
8.เราเตอร์แบบรุ่นใดเป็นเราเตอร์ครบวงจร
ก.Cisco 1800 Series
ข.Cisco 3800
ค.Cisco 2802
ง.Cisco 2803
เฉลย ก
9. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ก.บริดจ์ (Bridge)
ข. เราเตอร์ (Router)
ค.สวิตช์ (Switch)
ง.แลนด์ (Lan)
เฉลย ง.
10. เส้นการเชื่อมโยงของระหว่างเครือข่าย มีชื่อเรียกว่า
ก.Router Table
ข.Router
ค.Bridge
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การเข้าสาย LAN
การเข้าสาย LAN
การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คือ TIA/EIA 568A และ 568B ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียงลำดับสายจะแสดงดังตารางและรูปด้านล่าง
การเข้าหัวสาย UTP นั้นมีอยู่สองมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คือ TIA/EIA 568A และ 568B ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียงลำดับสายจะแสดงดังตารางและรูปด้านล่าง
PIN # | Signal | TIA/EIA 568A | TIA/EIA 568B |
1 | Transmit+ | ขาวเขียว | ขาวส้ม |
2 | Transmit+ | เขียว | ส้ม |
3 | Receive+ | ขาวส้ม | ขาวเขียว |
4 | N/A | น้ำเงิน | น้ำเงิน |
5 | N/A | ขาวน้ำเงิน | ขาวน้ำเงิน |
6 | Receive+ | ส้ม | เขียว |
7 | N/A | ขาวน้ำตาล | ขาวน้ำตาล |
8 | N/A | น้ำตาล | น้ำตาล |
สาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45
การทำสายแพทช์คอร์ดหรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายทางทั้งสองข้างจะต้องเข้าตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ส่วนสายครอสโอเวอร์หรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับฮับหรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์นั้น ปลายสายด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568A ส่วนปลายสายอีกด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ TIA/EIA 568B
วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ข่าวสารไอที
ไอซีทีกล่อม ทีโอที-กสท ประสานรอย ร้าวเดินหน้าไทยโมบาย
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวถึงข้อสรุปเรื่องการซื้อขายหุ้นกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 1900 เมกะเฮิร์ตซ ที่บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) หรือทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท ถือหุ้นร่วมกันว่า เดิมมีข้อเสนอให้ ทีโอทีและ กสท อยู่ 3 ทางคือ 1.ทีโอทีขายหุ้น 58% ที่ถืออยู่ให้ กสท 2 .กสท ขายหุ้นให้ทีโอที และ 3.ทีโอที และกสท ดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยให้ระยะเวลา 1 เดือน
รมต.ไอซีที กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ ทั้ง กสท และทีโอที ต่างต้องการที่จะซื้อหุ้นของอีกฝ่าย โดยทาง กสท ต้องการซื้อหุ้นของทีโอที ในราคา 3,300 ล้านบาท และจะจ่ายภายใน 7 วัน ขณะที่ทางทีโอทีจะซื้อหุ้นจาก กสท ในราคา 2,400 ล้านบาท กำหนดการจ่ายเงินภายใน 12 ปี และตอนหลังลดลงเหลือจ่ายภายใน 5 ปี แต่ยังติดเรื่องการโอนหุ้นว่าจะทำได้หรือไม่ และจากมติที่ประชุมของ กทช ปรากฏว่าหุ้นดังกล่าวสามารถโอนให้กันได้ จึงได้ข้อสรุปว่า กสท จะขายหุ้นจำนวน 42% ให้กับทีโอที ในราคา 2,400 ล้านบาท จ่ายภายใน 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย เพื่อที่ทาง กสท จะได้นำเงินดังกล่าวไปพัฒนาระบบโครงข่ายของ กสท
“ทั้ง 2 หน่วยงานจะทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันต่อหน้า รมว.ไอซีทีภายใน 7 วัน เพื่อให้เป็นพยาน และที่ กสท ยอมเพราะรัฐมนตรีขอร้อง ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ทุกฝ่ายพอใจเพราะต่างเป็นหน่วยงานของรัฐเหมือนกัน ส่วนปัญหาคดีระหว่างทีโอทีและ กสท เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย และค่าเช่าใช้โครงข่าย อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ และแอคเซสชาร์จก็อยากให้เรื่องจบด้วย ส่วนตัวอยากให้พัฒนาร่วมกันไป ภายใน 1 เดือนให้เสร็จเรื่องคดีความทั้งหลาย และบอร์ดทั้ง 2 ฝ่ายก็รับปากที่จะดำเนินการให้” นายมั่นกล่าว
ด้าน นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานกรรมการ บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใน 200 วันการโอนสิทธิคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเรียบร้อย เนื่องจากขั้นตอนบางอย่างสามารถทำพร้อมกันได้ ขอยืนยันว่าจากนี้ไป ทีโอที และ กสท จะไม่แข่งขันกันในการประมูลงานแต่จะเป็นการส่งเสริมกันมากขึ้น คาดว่าหลังจากการโอนสิทธิ์คลื่นความถี่แล้ว ภายใน 6 เดือน แผนมือถือระบบ 3G น่าจะเสร็จ และพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานครสามารถใช้บริการได้ ส่วนปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ๆ หลายจังหวัด คาดว่าจะใช้งานได้ภายใน 1 ปี แต่ต้องได้ใช้ 3G ก่อนประเทศลาว และประเทศกัมพูชาอย่างแน่นอน สำหรับงบประมาณในการทำ 3G จะต้องมีการปรึกษาระหว่าง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีว่า จะดำเนินการอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวถึงข้อสรุปเรื่องการซื้อขายหุ้นกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 1900 เมกะเฮิร์ตซ ที่บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) หรือทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท ถือหุ้นร่วมกันว่า เดิมมีข้อเสนอให้ ทีโอทีและ กสท อยู่ 3 ทางคือ 1.ทีโอทีขายหุ้น 58% ที่ถืออยู่ให้ กสท 2 .กสท ขายหุ้นให้ทีโอที และ 3.ทีโอที และกสท ดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยให้ระยะเวลา 1 เดือน
รมต.ไอซีที กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ ทั้ง กสท และทีโอที ต่างต้องการที่จะซื้อหุ้นของอีกฝ่าย โดยทาง กสท ต้องการซื้อหุ้นของทีโอที ในราคา 3,300 ล้านบาท และจะจ่ายภายใน 7 วัน ขณะที่ทางทีโอทีจะซื้อหุ้นจาก กสท ในราคา 2,400 ล้านบาท กำหนดการจ่ายเงินภายใน 12 ปี และตอนหลังลดลงเหลือจ่ายภายใน 5 ปี แต่ยังติดเรื่องการโอนหุ้นว่าจะทำได้หรือไม่ และจากมติที่ประชุมของ กทช ปรากฏว่าหุ้นดังกล่าวสามารถโอนให้กันได้ จึงได้ข้อสรุปว่า กสท จะขายหุ้นจำนวน 42% ให้กับทีโอที ในราคา 2,400 ล้านบาท จ่ายภายใน 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย เพื่อที่ทาง กสท จะได้นำเงินดังกล่าวไปพัฒนาระบบโครงข่ายของ กสท
“ทั้ง 2 หน่วยงานจะทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันต่อหน้า รมว.ไอซีทีภายใน 7 วัน เพื่อให้เป็นพยาน และที่ กสท ยอมเพราะรัฐมนตรีขอร้อง ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ทุกฝ่ายพอใจเพราะต่างเป็นหน่วยงานของรัฐเหมือนกัน ส่วนปัญหาคดีระหว่างทีโอทีและ กสท เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย และค่าเช่าใช้โครงข่าย อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ และแอคเซสชาร์จก็อยากให้เรื่องจบด้วย ส่วนตัวอยากให้พัฒนาร่วมกันไป ภายใน 1 เดือนให้เสร็จเรื่องคดีความทั้งหลาย และบอร์ดทั้ง 2 ฝ่ายก็รับปากที่จะดำเนินการให้” นายมั่นกล่าว
ด้าน นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานกรรมการ บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใน 200 วันการโอนสิทธิคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเรียบร้อย เนื่องจากขั้นตอนบางอย่างสามารถทำพร้อมกันได้ ขอยืนยันว่าจากนี้ไป ทีโอที และ กสท จะไม่แข่งขันกันในการประมูลงานแต่จะเป็นการส่งเสริมกันมากขึ้น คาดว่าหลังจากการโอนสิทธิ์คลื่นความถี่แล้ว ภายใน 6 เดือน แผนมือถือระบบ 3G น่าจะเสร็จ และพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานครสามารถใช้บริการได้ ส่วนปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ๆ หลายจังหวัด คาดว่าจะใช้งานได้ภายใน 1 ปี แต่ต้องได้ใช้ 3G ก่อนประเทศลาว และประเทศกัมพูชาอย่างแน่นอน สำหรับงบประมาณในการทำ 3G จะต้องมีการปรึกษาระหว่าง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีว่า จะดำเนินการอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)